วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนครั้งที่13

วันพุธที่4เมษายน2561






นางสาวสุจิณณา พาพันธ์ นำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
 เพื่อพัฒนาการเรียรู้โดยใสมองเป็นฐาน


ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

ตัวอย่าง หน่วยเงิน

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
   1. เด็ก ๆ ฟังเสียงของเหรียญที่อยู่ในกล่องปริศนาแล้วทายว่า สิ่งใดอยู่ในกล่อง 


   2. เด็กอธิบายลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกล่อง (เงิน) 
   3. เด็กช่วยกันแยกประเภทของเงินชนิดที่เป็นเหรียญ และเป็นธนบัตร 
   4. เด็ก ๆ เลือกเงินคนละ 1 ชนิด บอกประเภทและค่าของเงินนั้นให้เพื่อน 
  5. เด็กท่องคำคล้องจอง “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์  มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน” เด็กอธิบายถึงเนื้อหาในคำคล้องจอง 
   6. ครูใช้คำถามปลายเปิด - เด็กคิดเห็นว่าเงินมีความสำคัญอย่างไร  - ทำอย่างไรถึงจะได้เงินมา  - เด็กคิดหาวิธีการหาเงินแบบง่ายด้วยตนเองครูมีกิจกรรมเปิดท้าย

ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน 

  1.ครูนำภาพกิจกรรมเปิดท้ายสินค้าราคาถูกของโรงเรียนให้ดู 
  2. เด็กเข้ากลุ่มเลือกสินค้า สิ่งของที่จะสามารถนำมาจำหน่ายได้
 ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม 
  1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ตามกระบวนการ ดังนี้ - นำสิ่งของ สินค้ามาจากบ้าน - ช่วยกันปฏิบัติตามแผนที่วางไว้  - ติดป้ายราคา -ครูดูแลอย่างใกล้ชิดทีละกลุ่มตามแผนที่วางไว้ 
  2.ครูสนทนากับเด็กในแต่ละกลุ่ม กำหนด วัน เวลา จำหน่ายสินค้าอีกครั้ง
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน 
  1.ครูและเด็กทบทวนกิจกรรม -วัน เวลา – สินค้าที่จำหน่ายมีอะไรบ้าง ให้เด็ก ทำบัญชีอย่างง่าย
ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอ
  1. เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มนำเสนอสินค้าที่ตนเองนำมาจำหน่าย -ขายได้หรือไม่ อย่างไร
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ 
  1.เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้ามา เล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง ครูสรุปกิจกรรม


ประเมินตนเอง วันนี้ฉันนำเสนอวิจัยและ อธิบายความคืบหน้าของสื่อจากแผงไข่
ประเมินอาจารย์ ดูความคืบหน้า และบอกเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อของแต่ละกลุ่ม


บันทึกการเรียนครั้งที่12

วันพุธที่28 มีนาคม พ.ศ.2561






นางสาวสิริวดี นุเรศรัมย์ นำเสนอบทความ เรื่อง สอนคณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัว

1.สอนตัวเลข โดยให้เด็กๆนับของเล่น หรือรู้เลขจากเบอร์โทรศัพท์ เลขที่บ้าน2.สอนขนาด ปริมาณ น้ำหนัก จากการเรียงของสิ่งที่แตกต่าง3.สอนรูปทรง จากการทำอาหาร หรือของใช้ภายในบ้าน4.สอนตำแหน่ง จากการขับรถบอกทาง หรือให้นำสิ่งของไปวางไว้ที่ต่างๆ5.สอนกลางวัน กลางคืน จากการให้ทำกิจวัตประจำวัน 6.สอนวัน/เดือน/ปี จากปฏิทิน หรือเทศกาล ประเพณีต่างๆ7.สอนเพิ่ม - ลด เพิ่มข้าว เพิ่มปุ๋ย หรือลดจำนวนสิ่งของที่ไม่ใช้ 8.สอนการใช้เงิน จากการไปตลาด ไปซื้อของ


นางสาวสุพรรณิการ์ สุขเจริญ นำเสนอบทความเรื่อง สอนลูกเรื่องจำนวนการนับเเละตัวเลข
1.จัดบรรยากาศภายในบ้านให้มีตัวเลขให้เด็กได้เห็นเด็กจะเกิดความสนใจ 
2.นับอวัยวะ ตากี่มีตา 
3.เล่านิทานที่มีจำนวนตัวเลข เพื่อให้เด็กได้นับ ได้คิด


อาจารย์มอบหมายงาน ให้จับคู่ คิดสื่อการเรียนการสอนจากแผงไข่
ซึ่งคิดเราสองคนตกลงกันว่าจะทำสื่อง่ายๆแต่สามารถนำไปใช้ได้จริง


ประเมินตนเอง วันนี้วางแผนเกี่ยวกับการทำสื่อจากแผงไข่แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามที่วางไว้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมและเสริมในเรื่องการทำว่าควรเพิ่มอะไรบ้าง





บันทึกการเรียนคร้งที่11

วันพุธที่21มีนาคม2561

นำเสนองานวิจัย บทความ และสื่อการสอน



นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้ นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง การเรียนรู้จำนวนตัวเลขมากกว่าน้อยกว่า  ให้เด้กได้เห็นจำนวนจริงใช้ของจริงหยิบจับได้ เห็นค่าจำนวนไอศกรีมแล้วใช้เลขกำกับ อาจารย์เพิ่มเติมว่า สอนจำนวนเท่ากันก่อนค่อยหาว่าอันไหนมากกว่าน้อยกว่า นำไปใช้ในการสอนได้


นางสาวปวีณา พันธ์กุล นำเสนอบทความ 
วิธีเรียนคณิตศาสตร์ในห้องครัวกับคุณแม่
1.ชั่ง ตวง 
              2.หั่นผักเป็นรูปทรง
           3.การตกแต่งจาน
                    4.จับเวลาในการรอ อบ 


นางสาวณัฐชา บุญทอง นำเสนอบทความเลขคณิตคิดสนุก 
แนะนำพ่อแม่สอนลูกๆจากกิจกรรมในบ้าน พ่อแม่มีส่วนร่วมในการสอนคณิตศาสตร์ เช่น ทำเยลลี่ให้ ได้ทักษะ ชั่ง ตวง วัด
              



                                  -การเรียนคณิตศาสตร์ด้วยลูกบอล การวางแผนให้เด็กคาดคเนด้วย                                                                                               สายตา ว่ามีลูกบอลในถุงเท่าไหร่

    -การตั้งโจทย์ให้เด็กแยก2กลุ่มเท่าๆกัน อยู่ในมาตราฐานคณิตศาสตร์
สาระที่1จำนวนและการดำดเนินการ

-ให้เด็กนับจากซ่ายไปขวาเสมอและใช้เลขฮินดูอารบิกมากำกับ

-การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหย์แล้วบอกจำนวนที่เหลือและจับคู่1ต่อ1 
เปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าให้เด็กเห็นภาพ
-การตั้งโจทย์อนุกรม ต้องมีตัวอย่าง อย่างน้อย2 สองตัวอย่างเพื่อให้เด็กจับทางได้




-การสอนสมมาตรให้เด็กได้ลงมือทำเอง หาเงาของภาพที่ตัดให้สังเกต
 และหาคำตอบ ด้วยของจริงหยิบจับได้




บันทึกครั้งที่ 10

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561  



เนื้อหาที่เรียน

 วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่อง

มาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีก

ครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำ

เสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน 

นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนว

มอนเตสซอรี่  ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์   กมลสุทธิ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555

ความมุ่งหมาย :เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอ

รี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง

สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้

รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ใน

ระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก 

การเรียงลำดับและการนับ
                                                       
 นางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  (ต้องนำเสนอใหม่) นำเสนอวิจัย

เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบ

เทียบ   โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี  สัตยาภาณ์  

หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้ 

1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง

2. สัตว์น่ารู้    จำนวน 5 ชั่วโมง

3. อาชีพที่ควรรู้จัก  จำนวน 5 ชั่วโมง

4. ฤดูกาล     จำนวน 5 ชั่วโมง

นางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง  (ต้องนำเสนอใหม่) นำเสนอวิจัย 

เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2

โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป 

นางสาววิจิตรา   ปาคำ  นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรม

ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์  เป็นการ

สอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก 

สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การ

จำแนก การเรียงลำดับ

นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทาง

คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร

โดย ศุภนันท์   พลายแดง  วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขา

วิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี 

โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน

สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ 


บันทึกครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 14 มีนาคม 2561 



สาระสำคัญและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ

-บอกปริมาณจำนวนสิ่งของ ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเช่น การนับจำนวนเด็กในห้อง ให้เด็กนับและยกมือขึ้นค้างไว้ เพื่อให้เด็กเห็นการเพิ่มขึ้นทีละ 1 ของจำนวนตามลำดับ  (ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ)
-การบอกจำนวนสิ่งต่างๆ ต้องกำหนดจุดเริ่มต้น แล้วจึงจัดลำดับ
-การรวมตัว การรวมเป็นการนับรวมของสองอย่างขึ้นไป
-การแยก นับแยกสิ่งต่างๆออกจากกลุ่ม

สาระที่2 การวัด

การวัดความยาวสิ่งต่างๆตามแนวนอน การวัดส่วนสูงเป็นการวัดแนวตั้ง 
-การวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระที่3 เรขาคณิต
รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
-จำแนกรูปเรขาคณิต

สาระที่4 พีชคณิต

-เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และการนำเสนอ

สาระที่6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

มีทักษะกระบวนการคิดและทักษะในการแก้ไขปัญหา


 "สาระที่6ไม่มีการกำหนดมาตรฐานเพราะไม่มีการประเมิน"


บันทึกครั้งที่ 8

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561




                                เป็นสัปดาห์ของการสอบ จึงไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่7

วันศุกร์ที่21กุมภาพันธ์2561



นางสาววสุธิดา คชชา นำเสนอบทความ
           
ให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องของการจำแนกสิ่งต่างๆ นำดอกไม้ขนิดต่างๆที่มีสีต่างๆ มาให้เด็กสังเกต และจำแนกดอกไม้ตาม ชนิด สี กลิ่น ของดอกไม้และนอกจากนี้เด็กยังสามารถเปรียบเทียบจำนวนของดอกไม้ที่จำแนกได้และเปิดโอกาสให้เด็กเล่าหรือวาดภาพโดยมีครูคอยให้กำลังใจ




 นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ  นำเสนอเรื่องเรียนรู้รูปทรงแปลงร่าง

          1.ก่อนการเรียนครูจะมีการถามเกี่ยวเรื่องรูปทรงที่เด็กรู้จักในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว
          2.ให้เด็กลองสัมผัสรูปทรง
          3.เด็กหยิบรูปทรงคนละชิ้น แล้วนำมาสร้างเป็นผลงานของตนเอง เพื่อเชื่อมโยงรูปทรงกับประสบการณ์บูรณาการผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์




 เปิดโอกาสส่งเสริมการเล่น พัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตนำไปสู่ทักษะการแก้ไขปัญหาและพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังเพื่อนและอาจารย์
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความเพื่อให้นักศึกาาเข้าใจง่ายขึ้น




บันทึกครั้งที่6

วันพุธที่  21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561


อาจารย์ให้ทายว่ารูปธงชาติมีสี่เหลี่ยมแบบใดและทั้งหมดมีกี่รูป

เพียเจท์ได้แบ่งความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามพัฒนาการของเด็กออกเป็น 2 ชนิด
1. ความรู้ทางด้านกายภาพ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหา หรือ ทักษะ
1.การนับ = ใช้การบวกหรือการลบ
2.ตัวเลข = ฮินดูอารบิก ไทย
3.การจับคู่ = สิ่งที่ใช้ร่วมกัน , สัมพันธ์กัน , เหมือนกัน  ,ตรงกันข้าม 
4.การจัดประเภท = ใช้ลักษณะเป็นเกณฑ์
5.การเปรียบเทียบ = หาค่าเชิงปริมาณก่อน คือ นำสองสิ่งมาวางทับกันในแนวเดียวกัน ถ้าสิ่งใดเหลือแสดงว่าสิ่งนั้นใหญ่กว่าหรือมากกว่า
6.การจัดลำดับ =การเรียงลำดับตามความต้องการ โดยจะเป็นการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
7.รูปทรงและเนื้อที่ = เช่นต้นคริสต์มาส แทน 🔺 
8.การวัด = ใช้เครื่องมือต่างๆ
9.เซต = สิ่งที่สัมพันธ์กัน เช่น เซตอาหาร
10.เศษส่วน = การแบ่ง เช่น แบ่งเค้กเป็นส่วนๆ 
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย = เช่น แพทเทิล  อนุกรม
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ = ลักษณะที่เท่าเดิม

   หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม 
          1.1 ขั้นใช้ของจริง
          1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
          1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ
          1.4 ขั้นนามธรรม
2.เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ
4.ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5.จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก และสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
7.จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง

                                
                               (ภาพบรรยากาศในห้องเรียน)
บรรยากาศในห้องเรียน
            ไม่ค่อยผ่อนคลาย
ประเมินอาจารย์
             อาจารย์ให้แสดงความคิดเห็น ได้ตอบคำถามกันทุกคน 

บันทึกครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561

วันนี้อาจารย์สอน 3 กิจกรรม

       กิจกรรมที่ 1 อาจารย์แจกกระดาษปรากฏว่ากระดาษเหลือ 5 แผ่น เขียนในรูปประโยคว่า กระดาษมากกว่าคนอยู่ 5, กระดาษ > คน = 5 เขียนเป็นรูปสัญญาลักษณ์ได้ 22 > 17 = 5
         -จากกิจกรรมนี้เด็กได้เปรียบเทียบจากสิ่งสองสิ่ง ว่ามากกว่ากันอยู่เท่าไหร่

        กิจกรรมที่ 2 อาจารย์สอนเรื่องกราฟ มีให้เลือกระหว่างส้มตำกับลาบไก่ ปรากฏว่าส้มตำมีคนเลือก 11 คน ลาบไก่ 7 คน ส้มตำ > ลาบไก่ = 4 คน
         -ในการจับคู่แบบนี้เรียกว่าการจับคู่ 1:1 เมื่อจับคู่ 1:1 เพื่อเปรียบเทียบสิ่งของ สองสิ่งว่าสิ่งไหนมีค่ามากกว่ากัน ใครหมดก่อนแสดงว่าน้อยกว่าการสอนลักษณะนี้ทำให้เด็กเห็นภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง 

        กิจกรรมที่ 3 คณิตศาสตร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง เช่น คุณให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาร ลูกจะเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้านการวัด ตวง การหั่นผักเป็นรูปทรงเรขาคณิต การจัดจาน การกำหนดเวลา และการเปลี่ยนสถานะของอาหาร

บรรยากาศในห้องเรียน

-อาจารย์สอนละเอียดมากค่ะ

ประเมินการสอน

- อาจารย์สอนได้เข้าใจมีการยกตัวอย่างให้เข้าใจมากขึ้น