วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนครั้งที่13

วันพุธที่4เมษายน2561






นางสาวสุจิณณา พาพันธ์ นำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
 เพื่อพัฒนาการเรียรู้โดยใสมองเป็นฐาน


ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

ตัวอย่าง หน่วยเงิน

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
   1. เด็ก ๆ ฟังเสียงของเหรียญที่อยู่ในกล่องปริศนาแล้วทายว่า สิ่งใดอยู่ในกล่อง 


   2. เด็กอธิบายลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกล่อง (เงิน) 
   3. เด็กช่วยกันแยกประเภทของเงินชนิดที่เป็นเหรียญ และเป็นธนบัตร 
   4. เด็ก ๆ เลือกเงินคนละ 1 ชนิด บอกประเภทและค่าของเงินนั้นให้เพื่อน 
  5. เด็กท่องคำคล้องจอง “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์  มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน” เด็กอธิบายถึงเนื้อหาในคำคล้องจอง 
   6. ครูใช้คำถามปลายเปิด - เด็กคิดเห็นว่าเงินมีความสำคัญอย่างไร  - ทำอย่างไรถึงจะได้เงินมา  - เด็กคิดหาวิธีการหาเงินแบบง่ายด้วยตนเองครูมีกิจกรรมเปิดท้าย

ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน 

  1.ครูนำภาพกิจกรรมเปิดท้ายสินค้าราคาถูกของโรงเรียนให้ดู 
  2. เด็กเข้ากลุ่มเลือกสินค้า สิ่งของที่จะสามารถนำมาจำหน่ายได้
 ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม 
  1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ตามกระบวนการ ดังนี้ - นำสิ่งของ สินค้ามาจากบ้าน - ช่วยกันปฏิบัติตามแผนที่วางไว้  - ติดป้ายราคา -ครูดูแลอย่างใกล้ชิดทีละกลุ่มตามแผนที่วางไว้ 
  2.ครูสนทนากับเด็กในแต่ละกลุ่ม กำหนด วัน เวลา จำหน่ายสินค้าอีกครั้ง
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน 
  1.ครูและเด็กทบทวนกิจกรรม -วัน เวลา – สินค้าที่จำหน่ายมีอะไรบ้าง ให้เด็ก ทำบัญชีอย่างง่าย
ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอ
  1. เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มนำเสนอสินค้าที่ตนเองนำมาจำหน่าย -ขายได้หรือไม่ อย่างไร
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ 
  1.เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้ามา เล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง ครูสรุปกิจกรรม


ประเมินตนเอง วันนี้ฉันนำเสนอวิจัยและ อธิบายความคืบหน้าของสื่อจากแผงไข่
ประเมินอาจารย์ ดูความคืบหน้า และบอกเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อของแต่ละกลุ่ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น