วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกครั้งที่6

วันพุธที่  21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561


อาจารย์ให้ทายว่ารูปธงชาติมีสี่เหลี่ยมแบบใดและทั้งหมดมีกี่รูป

เพียเจท์ได้แบ่งความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามพัฒนาการของเด็กออกเป็น 2 ชนิด
1. ความรู้ทางด้านกายภาพ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหา หรือ ทักษะ
1.การนับ = ใช้การบวกหรือการลบ
2.ตัวเลข = ฮินดูอารบิก ไทย
3.การจับคู่ = สิ่งที่ใช้ร่วมกัน , สัมพันธ์กัน , เหมือนกัน  ,ตรงกันข้าม 
4.การจัดประเภท = ใช้ลักษณะเป็นเกณฑ์
5.การเปรียบเทียบ = หาค่าเชิงปริมาณก่อน คือ นำสองสิ่งมาวางทับกันในแนวเดียวกัน ถ้าสิ่งใดเหลือแสดงว่าสิ่งนั้นใหญ่กว่าหรือมากกว่า
6.การจัดลำดับ =การเรียงลำดับตามความต้องการ โดยจะเป็นการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
7.รูปทรงและเนื้อที่ = เช่นต้นคริสต์มาส แทน 🔺 
8.การวัด = ใช้เครื่องมือต่างๆ
9.เซต = สิ่งที่สัมพันธ์กัน เช่น เซตอาหาร
10.เศษส่วน = การแบ่ง เช่น แบ่งเค้กเป็นส่วนๆ 
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย = เช่น แพทเทิล  อนุกรม
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ = ลักษณะที่เท่าเดิม

   หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม 
          1.1 ขั้นใช้ของจริง
          1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
          1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ
          1.4 ขั้นนามธรรม
2.เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ
4.ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5.จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก และสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
7.จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง

                                
                               (ภาพบรรยากาศในห้องเรียน)
บรรยากาศในห้องเรียน
            ไม่ค่อยผ่อนคลาย
ประเมินอาจารย์
             อาจารย์ให้แสดงความคิดเห็น ได้ตอบคำถามกันทุกคน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น