วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกครั้งที่4

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561




วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากดิฉันไม่สบายดิฉันจึงถามเพื่อนว่าวันนี้อาจารย์สอนอะไรบ้าง?
เพื่อน   :  อาจารย์ตรวจBlogของแต่ละคน
เพื่อน   :  อาจารย์ให้วาดภาพแทนความหมายและลักษณะของคำว่าพัฒนาการ
พัฒนาการ  คือ  พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกในแต่ละระดับอายุ
ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ภาพพัฒนาการของเด็ก
ที่มา https://nameberry.com/blog/boys-names-2012-nameberrys-top-100

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขั้นบันได 
➤ ขั้นบันได  สามารถบอกได้ว่า ลักษณะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตาม ลำดับขั้น  

➤ในวัยเด็กแรกเกิด - 2 ปี เด็กวัยนี้มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เด็กเจริญเติมโตได้ค่อนข้างไว สังเกตการเรียนรู้ของเด็กได้จากการ ส่งเสียงร้อง อ้อแอ้  จับแตะ สิ่งของ ขว้าง ปา  กัด  เลีย ดูด มองตามของตก เป็นต้น  และมีการรวบรวมการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ เก็บรวบรวมไปยังสมอง

ซึ่งกระบวนการทำงานของสมอง มี 3 ขั้น

ขั้นที่ 1 เซนท์ซิลิมอเตอร์  ➨  เด็กอยากรู้อยากเห็น  สัมผัส   ชิมรส
ขั้นที่ 2 แอดซิเมเลชั่น  ➨   เด็กซึมซับจากประสบการณ์ใหม่ และปรับให้เข้ากับประสบการณ์เดิม
เช่น  การหยดสีลงบนกระดาษเปียก  เด็กหยดสีแดง  กับสีน้ำเงินลงไป  = ประสบการณ์เดิม
สีแดงวิ่งเข้าหาสีน้ำเงินทำให้เกิด สีม่วง  เด็กเห็นสีม่วง = ประสบการณ์ใหม่ 
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก คือ  เด็กเกิดการเรียนรู้ 

หลักการจำ    ถ้ารับรู้ แล้วเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเกิดการเรียนรู้
                    ถ้ารับรู้แล้วไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าแค่รับรู้อย่างเดียว
ขั้นที่ 3 ขั้นอนุรักษ์ ➨ เด็กตอบตามเหตผล  คือตามที่เด็กเห็น  เช่น การทดลองน้ำในขวด ของเพียเจต์
➤เพียเจต์ได้นำหลักการนี้มากจาก การทำงานของสมอง จับกับอายุของเด็ก เกิดเป็นพฤติกรรม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เป็นคนละเอียดรอบคอบและตรงต่อเวลา 

การบันทึกครั้ง3

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ.2561   




เนื่องจากวันนี้เป็นอาจารย์ติดธุระจึงไม่ได้เข้าสอนแต่ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำในห้องคือ หาสื่อคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ในการสอนเด็กปฐมวัยพร้อมบอกประโยชน์ของสื่อที่เลือกมา ห้ามซ้ำกันโดยให้ทำงานอยู่ในห้องและส่งท้ายคาบเรียน




          ได้รู้สื่อจักสื่อที่ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์เด็กที่หลากหลาย

โดยสื่อแต่ละประเภทก็จะมีวิธีการนำไปใช้ที่น่าสนใจเรื่องที่สอนก็จะมี

ความหลายหลาย เช่น สอนเรียนการนับ การจับคู่ การเปรียบ

เทียบ เป็นต้น

บรรยากาศในห้องเรียน

เพื่อนๆตั้งใจทำงานของตัวเอง ใส่ใจกับสิ่งที่ทำ หลังจากทำเสร็จแล้ว

ก็รวบรวมส่งอาจารย์



                                                                                                                                         
               

วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกครั้งที่2

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2561  
วันนี้อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ 
           อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ออกแบบชื่อของตัวเองโดยชื่อที่ทำออกมานั้นจะต้อง
          ต่อกัน เมื่อเสร็จแล้ว  อาจารย์จัดเวลาให้คนที่ตื่นก่อน  07.00 น ออกไปติดที่กระดานฝั่งซ้าย 
          คนทีตื่น07.00 น ไปติดตรงกลางและคนที่ตื่นหลัง 07.00 น ไปติดฝั่งขวา  
          ผลสรุปคือ คนที่ตื่นหลัง 07.00 น มากที่สุด 




ทักษะที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรมนี้คือ 
1.เรื่องการเปรียบเทียบจำนวนมาก-น้อย
2.การจับคู่
3.การนับ
ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่เรื่องการบวก ลบ สอนเด็กจะต้องมีการปูพื้นฐานและสอนทีละเรื่องจากน้อยไปมาก

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม
การวางแผนและแก้ไขปัญาหา ระหว่างที่ทำกิจกรรมอาจจะมีความวุ่นวาย จึงต้องมีการออกแบบในการร่วมกิจกรรมเสมอ เช่น การเข้าแถว การเรียกชื่อเด็ก,เลขที่,กลุ่ม การใช้เพลง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรักษาความสมดุลเรื่องของเวลา
       อาจารย์ให้ทำ mind map การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
ตาม course syllabus เพื่อที่เราจะได้รู้เนื้อหาที่จะเรียนว่าการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และเรื่องของเด็กปฐมวัยควรต้องมีเรื่องอะไรบ้าง

ก่อน

หลัง

ประเมินอจารย์
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒาชิ้นงานให้ดีขึ้น และสอนให้นักศึกษาตรงต่อเวลา